แผนเรียนรู้บูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : “การจัดการชุดความรู้”
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่6 Quarter3 ภาคเรียนที่2
ปีการศึกษา 2559
เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
สามารถอธิบายและให้เหตุผลในสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้พร้อมทั้งมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1
25-29 ต.ค. 2559 |
โจทย์ : สร้างฉันทะ/แรงบันดาลใจ/วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้
Key Questions :
- จากภาพยนตร์ที่ได้ดูนักเรียนเห็นอะไร/รู้สึกอย่างไรแล้วถ้าเป็นตัวนักเรียนจะรู้สึกอย่างไร?
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรในQuarterนี้?
-
นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใด?
- สิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้มีอะไรบ้าง?
- นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 10สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?
เครื่องมือคิด :
Plate Mat:วิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์
Round Robin: อภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์
Chard and Chart: จัดหมวดหมู่เรื่องที่อยากเรียนรู้
Think Pair Share: ตั้งชื่อหน่วย
Show and Share: นำเสนอชื่อหน่วยของแต่ละกลุ่มพร้อมให้เหตุผล
Blackboard Share:สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
:
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพยนตร์เรื่อง“มนุษย์เงินเดือน”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
|
วันจันทร์
ชง:
- ครูให้นักเรียนภาพยนตร์เรื่อง
“มนุษย์เงินเดือน”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“จากภาพยนตร์ที่ได้ดูนักเรียนเห็นอะไร/รู้สึกอย่างไรแล้วถ้าเป็นตัวนักเรียนจะรู้สึกอย่างไร?”
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์เรื่อง
“มนุษย์เงินเดือน”ผ่านเครื่องมือคิด Plate Mat
- นักเรียนนำเสนอ Plate Mat
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง:
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรในQuarterนี้?”
- ครูและนักเรียนอภิปรายแลกเปลี่ยนร่วมกัน
เชื่อม: นักเรียนจัดหมวดหมู่เรื่องที่อยากเรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิด Chard and Chart
ชง:ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ว่าอะไร
เพราะเหตุใด?”
เชื่อม:นักเรียนร่วมกันตั้งชื่อหน่วยผ่านเครื่องมือคิดThink Pair Share
วันพุธ
ชง:ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “สิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้ใน
Quarter
นี้มีอะไรบ้าง?”
เชื่อม:นักเรียนทำสิ่งที่รู้แล้ว/อยากเรียนรู้
ชง:ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน
การเรียนรู้ตลอด 10สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?”
เชื่อม:
-
นักเรียนร่วมกันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง 10สัปดาห์
-
นักเรียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนหน่วย“การจัดการชุดความรู้”(การบ้าน)
วันศุกร์
ชง:ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
1.
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้
ความรู้ใหม่ที่ได้คืออะไร?
2.
นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?
เชื่อม:
- นักเรียนอภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
-
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- การร่วมกันระดมความคิดตั้งชื่อหน่วย
- การเขียนสิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
- การร่วมกันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง10สัปดาห์
-
การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
-
ปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง10สัปดาห์
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนหน่วย“การจัดการชุดความรู้”
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
สามารถอธิบายและให้เหตุผลในสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้พร้อมทั้งมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนรวมทั้ง สามารถออกแบบวางแผน กระบวนการเรียนรู้ตลอด10สัปดาห์ได้
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถค้นคว้าข้อมูลในเรื่องที่สนใจอยากเรียนรู้และจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาพร้อมทั้งนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะชีวิต
สามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีอย่างจำกัดในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน
ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังทัศนะคติของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ทักษะการสื่อสาร
เสนอความคิดเห็นออกแบบชื่อหน่วยและปฏิทินอย่างมีเหตุผลพร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
สรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์
บันทึกหลังการสอน
ตอบลบสัปดาห์แรกของการเปิดเรียนใน Quarter 3 พี่ป.6 ก้าวเข้ามาในห้องด้วยความกระตือรือร้นและเช้าวันแรกของทุกๆ Quarter คือพี่ๆมาเรียนกันตั้งแต่เช้าแล้วทำการสำรวจห้องเรียนว่ามีสิ่งใดบ้างที่เปลี่ยนแปลงไป ถามไถ่เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปิดภาคเรียนว่าเพื่อแต่ละคนไปทำอะไรกันมาบ้าง คุยทักทายกันอย่าสนุกสนานแต่ก็ยังไม่ลืมหน้าที่และบทบาทของตนเอง เปิดเรียน Quarter นี้คุณครูเห็นความน่ารักของพี่ๆ เพราะเมื่อครูมาถึงที่โต๊ะทำงาน การบ้านช่วงปิดเทอมของทุกวิชาถูกจัดเรียงไว้บนโต๊ะอย่างเรียบร้อยโดยที่ครูไม่ต้องทวงถามหรือเรียกให้ส่ง
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาวิชาPBL ครูดอกไม้ได้ชวนพี่ป.6 ทบทวนวิถีปฏิบัติของความเป็นนักเรียนนอกกะลา โดยให้พี่ๆทบทวนด้วยตนเองก่อนแล้วจึงรวมกลุ่มกับเพื่อนกลุ่มละ 4 คน จัดกระทำเป็นชาร์ตแล้วนำเสนอให้คุณครูและเพื่อนฟังและให้ข้อเสนอแนะร่วมกัน จากที่พี่ๆได้นำเสนอนั้นเห็นได้ว่าพี่ๆมีความเข้าใจเบื้องต้นในวิถีปฏิบัติอาจเนื่องด้วยการที่ทำจนคุ้นชิน พอถึงคราวที่ต้องถ่ายทอดเป็นภาษาเขียนจึงทำให้หลงลืมหรือตกหล่นไปบ้าง คุณครูจึงขมวดความเข้าใจอีกครั้งผ่านการตั้งคำถาม ทำไม......? เช่น ทำไมต้องใส่เสื้อลายผ้าขาวม้า?, ทำไมห้องเรียนถึงเป็นหกเหลี่ยม?, ทำไมต้องจิตศึกษา? ฯลฯ และพี่ๆก็ได้รวมกันตั้งคำถามทำไม....? ทำให้ได้คำถามถึง 30 ข้อ พี่เบ็ค: ” ครูครับขออีกข้องหนึ่งนะครับ ทำไมถึงเรียนเป็น 4 Quarter ครับ?” พี่ๆจึงได้ทบทวนและใคร่ผ่านคำถามทำไมเหล่านี้
เข้าสู่กระบวนการสร้างแรงบันดาลใจ ครูดอกไม้ได้ปิดคลิป VDO การเตรียมตัวสอบและเตรียมตัวก่อนสอบของน้องปรางค์(คนที่สอบได้ที่ 1 ของการสอบ Admissions ประเทศไทย) ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เพราะเหตุใดน้องปรางค์ถึงสอบได้ที่ 1 ของประเทศไทย?, ความรู้ความเข้าใจที่มีต่อเนื้อหาวิชาต่างๆในระดับชั้นป.6 ควรมีเรื่องใดบ้าง/อย่างไร?, นักเรียนมีมีวิธีการจัดการกับชุดความรู้เหล่านั้นอย่างไร?,ทำไมต้องมีการจัดการความรู้ทั้งชุด?” พี่มายด์: “ที่เขาสอบได้ที่ 1 เพราะเขามีความตั้งใจและมีความพยายามมากพอค่ะ” จากนั้นคุณครูและพี่ๆจึงได้อภิปรายร่วมกันจากคำถาม และวิเคราะห์จากคำถาม “ทำไมต้องมีการจัดการชุดความรู้?” ผ่านเครื่องมือคิด Place mat และตั้งชื่อหน่วยผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share ค่ะ