เป้าหมายความเข้าใจ (Understanding Goals)

ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

ทักษะ : การแสวงข้อมูล /การคิด / จัดการข้อมูล / การนำเสนอ

คุณลักษณะ : มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ / เอื้อเฟื้อข้อมูล

Week 2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่าน Mind Mapping (ก่อนเรียน) และสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ได้
Week
Input
Process  
Output
Outcome






2

1-5
พ.ย.
2559

โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ในQuarterนี้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?
ป่าให้อะไรกับนักเรียนได้บ้าง/อย่างไร?
Brainstorm :  ระดมความคิดในการวางแผนการเรียนรู้
Backboard Share : ปฏิทินการเรียนรู้
Show and Share นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
Mind Mapping : สรุปความเข้าใจก่อนเรียน
Infographic : สารอาหารและวิธีการตรวจสอบ

วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร?”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถาม
เชื่อม
- นักเรียนออกแบบปฏิทินการเรียนรู้รายบุคลจากสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
นักเรียนแบ่งกลุ่มช่วยกันวางแผนการเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอปฏิทินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาของทั้ง 10 สัปดาห์ ผ่านเครื่องมือคิดBackboard Share

ภาระงาน
การระดมความคิดในการวางแผนการเรียนรู้
การนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
การสรุปความเข้าใจก่อนเรียน
การเดินป่าโคกหีบเพื่อสำรวจว่าป่าให้อะไรเราได้บ้าง
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากป่าผ่านการ์ตูนช่อง
การอภิปรายร่วมกันจากปัญหาที่ได้พบเจอจากการเดินสำรวจป่า
- การสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ความรู้
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว, Mind Mapping (ก่อนเรียน) และสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ได้
ทักษะ 
ทักษะชีวิต
ออกแบบและเขียน Mind Mapping / ปฏิทินได้
ออกแบบตกแต่งห้องเรียนให้สอดคล้องกับโครงงานได้
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เช่น สี กระดาษ กรรไกร
เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน

Week
Input
Process  
Output
Outcome
2

1-5
พ.ย.
2559

Wall Thinking ปฏิทินการเรียนรู้แผ่นใหญ่
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ ปรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี      
- บรรยากาศในห้องเรียน
ใช้
แบ่งนักเรียนออกเป็น 10 กลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คนช่วยกันคิดรูปแบบกิจกรรม ชิ้นงาน แหล่งเรียนรู้   ในแต่ละเนื้อหาที่วางแผนไว้ โดยบันทึกแบบร่างลงในกระดาษA3 ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorm นำเสนอครูและเพื่อน ครูและเพื่อนเสนอแนะเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ผ่านเครื่องมือคิด 
Show and Share

วันอังคาร (ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด การดำเนินงานในการออกแบบปฏิทินในวันจันทร์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร พบเจอปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างและแก้ปัญหานั้นอย่างไร?”
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถาม

ชิ้นงาน
ปฏิทินการเรียนรู้
(แผ่นใหญ่)
- Mind Mappingสรุปความเข้าใจก่อนเรียน
การ์ตูนช่อง “ป่าให้อะไรเราบ้าง”
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2

ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผลได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Mind Mapping ก่อนเรียน
จัดหมวดหมู่ปฏิทินรายสัปดาห์ได้
-วางแผนในการเดินป่าได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
 คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหน่วย
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม


Week
Input
Process  
Output
Outcome
2

1-5
พ.ย.
2559


เชื่อม
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบไว้ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ พร้อมตกแต่งให้สวยงามสอดคล้องกับหน่วย
ชง 
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถามในขั้นชง
ใช้
- นักเรียนทำสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนผ่านเครื่องมือคิด
 Mind Mapping
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ป่าให้อะไรกับนักเรียนได้บ้าง/อย่างไร?” ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
เชื่อม
- นักเรียนเดินป่าโคกหีบเพื่อสำรวจว่าป่าให้อะไรเราได้บ้าง
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปสิ่งที่ได้จากป่าโดยจัดกระทำในรูปแบบของการ์ตูนช่อง


คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น












Week
Input
Process  
Output
Outcome
2

1-5
พ.ย.
2559


วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด การเดินในวันที่ผ่านมาเป็นอย่างไร พบเจอปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างและแก้ปัญหานั้นอย่างไร?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถาม

วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม จากการเดินป่าในวันพุธที่ผ่านมานักเรียนคิดว่ามีสิ่งใดบ้างที่เป็นสิ่งแปลกปลอมในป่าแล้วนักเรียนจะทำอย่างไร?”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถาม
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
1.      นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2.      นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
3.      นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
4.      นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
5.      นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
-  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2











































ตัวอย่างกิจกรรม




ตัวอย่างชิ้นงาน
สรุปองค์ความรุ้ก่อนเรียน











วิเคราะห์ไหที่เชื่อมโยงกับสาระวิชาต่างๆ


สิ่งที่รู้แล้ว/อยากเรียนรู้

























ปฏิทินการเรียนรู้

สรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์

















1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    หลังจากที่ได้วิเคราะห์ว่า “ทำไมต้องจัดการชุดความรู้ทั้งชุด?” เพื่อสร้างความเข้าใจและเห็นความสัมพันธ์เชื่อโยงของแต่ละสาระวิชาที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างมีนัยสัมพันธ์ ครูดอกไม้จึงให้โจทย์กับพี่ๆป.6 ว่า การที่เราจะทำการศึกษาเรื่องไหหนึ่งใบจะบูรณาการเข้ากับสาระวิชาใดบ้าง/ได้อย่างไร?และในสัปดาห์ที่สองของการะเรียนรู้ใน Quarter นี้ พี่ๆป.6 ได้ทำการวิเคราะห์ว่าเนื้อหาที่ต้องรู้และเข้าใจในระดับชั้นป.6 ของแต่ละวิชาว่ามีอะไรบ้าง/อย่างไร โดยวิเคราะห์จากหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2551 พี่ออโต้: “ครูครับกว่าจะจบ ป.6 ได้นี้ต้องเรียนเยอะขนาดนี้เลยหรอครับ?” พี่ภัทร: “ถ้าต้องท่องจำทั้งหมดนี้เราคงหัวระเบิดแน่เลยนะครับ?” พี่อ๋อมแอ๋ม: เนื้อหาดาราศาสตร์บางส่วนได้เรียนตั้งแต่ตอนป.3 ด้วยนะคะ
    หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหาตามหลักสูตรแล้วพี่จึงเขียนสิ่งที่รูแล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้ของตนเอง แล้วจึงนำเสนอแลกเปลี่ยนกันและร่วมกันทำสิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้แผ่นใหญ่จากนั้นจึงทำการออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง 10 สัปดาห์ การออกแบบปฏิทินในครั้งนี้เห็นความตั้งใจของพี่ๆแต่ละคนเป็นอย่างดี แต่ละกิจกรรมกว่าจะคิดออกแบบและเขียนลงในกระดาษได้นั้นผ่านการวิเคราะห์อย่างระเอียดตามมาตรฐานหลักสูตร เห็นการทำงานที่แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน และความงอกงามอีกหนึ่งอย่างในสัปดาห์นี้คือพี่ๆมีความตรงต่อเวลามากยิ่งขึ้น และก่อนการสรุปองค์ความรีรายสัปดาห์ ครูและพี่ๆได้AAR ร่วมกันถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดสัปดาห์นี้ โดยครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไร(ความรู้ใหม่)?/มีกระบวนการเรียนรู้อย่างไร?/ความรู้สึกเป็นอย่างไร?และจะดีกว่านี้ถ้า........? จากนั้นแต่ละคนจึงทำการสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์ สัปดาห์ที่สองค่ะ

    ตอบลบ