เป้าหมายความเข้าใจ (Understanding Goals)

ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

ทักษะ : การแสวงข้อมูล /การคิด / จัดการข้อมูล / การนำเสนอ

คุณลักษณะ : มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ / เอื้อเฟื้อข้อมูล

Week 7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค  การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจ   หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
Week
Input
Process
Output
Outcome
7

6 - 9
ธันวาคม
2559




โจทย์ : เศรษฐศาสตร์
 Key Questions :
- เราจะจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด?
- ถ้าทรัพยากรมีอย่างจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด มนุษย์จะมีวิธีจัดสรรทรัพยากรอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin: อภิปรายร่วมกันถึงความเข้าใจกับคำว่าเศรษฐศาสตร์

วันจันทร์
ชง: ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “เศรษฐศาสตร์ในความเข้าใจของนักเรียนคืออะไร/อย่างไร?”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
เชื่อม:
- นักเรียนเขียนถ่ายทอดความเข้าใจ เศรษฐศาสตร์สำหรับฉันคือ....?
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานและอภิปรายร่วมกัน


วันอังคาร
ชง: ครูให้นักเรียนอ่านบทความเศรษฐศาสตร์บนเครื่องบิน
เชื่อม :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ได้เรียนรู้อะไรจากบทความ, ทำไมคนบนเครื่องบินถึงยอมซื้อกาแฟ?”
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์ จากบทความที่อ่าน
- อภิปรายแลกเปลี่ยนร่วมกัน
ภาระงาน
- การอ่านบทความ“เศรษฐศาสตร์บนเครื่องบิน/แนวโน้มโลก”
- การวิเคราะห์จากบทความที่อ่าน
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- Place mat
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค  การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม  กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ


7

6 - 9
ธันวาคม
2559
Place mat: วิเคราะห์จากการอ่านบทความ
Show and Share: นำเสนอPlace mat
Wall Thinking: ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู
นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
- บทความ “เศรษฐศาสตร์บนเครื่องบิน/แนวโน้มโลก”
วันพุธ
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์จากคำถาม(Place mat)
ถ้าทรัพยากรมีอย่างจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด มนุษย์จะมีวิธีจัดสรรทรัพยากรอย่างไร?” / “ ถ้าไม่มีระบบเงินตรา สังคมจะเป็นอย่างไร? “การที่เราตีค่าทรัพยากรในเชิงคุณค่าหรือมูลค่า ส่งผลต่อการจัดสรรทรัพยากรเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?” / เราจะจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด?”
- นักเรียนอ่านบทความ “แนวโน้มโลก”
ทักษะชีวิต
ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการสื่อสาร
เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลายและ เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์



วันศุกร์
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ ความรู้ใหม่ที่ได้คืออะไร?”/ ”นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?”
เชื่อม:
นักเรียนอภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ใช้: จัดการชุดความรู้ลงในกระดาษ A4
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 




ตัวอย่างกิจกรรม


ตัวอย่างชิ้นงาน






สรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์










1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์นี้เป็นเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ ครูคะไม่เคยได้ยินคำว่าเศรษฐศาสตร์เลยค่ะ? ชื่อแปลกๆนะครับครู? มีคำถามเหล่านี้จากพี่ๆครูดอกไม้จึงได้ให้พี่ๆใคร่ครวญกับคำว่าเศรษฐศาสตร์สำหรับพี่ๆแล้วคืออะไร.....? จากที่แต่ละคนได้เขียนจึงนำมาถ่ายทอดอภิปรายแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่จะบอกว่าเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช่เงิน การค้าขาย คุณครูจึงกระตุ้นด้วยคำถามว่า “เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างไร?” พี่นิว(ญ): แม่หนูทำกับข้าวขายค่ะ หนูก็เลยได้มีส่วยช่วยในเรื่องการทอนเงินและการใช้เงินซื้อของค่ะ พี่เบ็ค: บ้านผมก็ขายของครับแต่ผมไม่ได้ช่วยอะไรเยอะได้ยินพ่อบอกว่ามันต้องเกี่ยงข้องกับเรื่องของกำไรว่าเราจะขายของชิ้นนี้กี่บาทเราถึงจะได้กำไรด้วยนะครับ พี่กัณฑ์: แม่ผมไปขายของที่ตลาดเคยเล่าให้ฟังครับว่าเราต้องเอาเงินไปซื้อของเพื่อมาขายแล้วเราก็ต้องวางแผนว่าจะลงทุนเท่าไหร่ขายไปกี่บาทถึงจะได้กำไรและไม่ขาดทุนครับ
    พี่ๆจึงได้อ่านบทความเศรษฐศาสตร์บนเครื่องบน(เขียนโดยครูใหญ่) แล้วจึงอภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทความ พี่อาย: กาแฟซองละห้าบาทแต่เมื่อไปอยู่บนเครื่องบินขายซองละห้าสิบบาท ทีแรกผมอ่านแล้วผมคิดว่าคนที่ขายของบนเครื่องบินเอาเปรียบคนซื้อมากๆเลยครับเพราะเป็นการขายเอากำไรมากเกินไป แต่พอลองอ่านไปเรื่อยๆแล้วมันก็จริงนะครับ เช่นสมมุติว่าผมอยู่กลางทะเลทรายแล้วมีคนเอาน้ำมาขายให้ผมคงต้องซื้อเหมือนกัน พี่ก้อย: คนที่เขาต้องการซื้อกาแฟต้องมีเงินมาพอจึงสามารถซื้อได้ คงคล้ายๆกับกำไรขาดทุนในการขายของเพราะคนขายไม่ได้บังคับซื้อ คนซื้อที่เป็นคนต้องการเอง
    จากนั้นพี่ๆจึงแบ่งกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์ตามเนื้อหาป.6 นำเสนอแลกเปลี่ยนอภิปรายร่วมกันตั้งคำถามต่อกลุ่มเพื่อนและตอบคำถามนั้นๆ และพี่ๆยังได้อ่านบทความ “แนวโน้มโลก” ครูจึงใช้คำถามกระตุ้นว่า “รู้สึกอย่างไรเมื่ออ่านบทความ? คิดอะไรขณะที่ได้อ่าน? จะวางแผนอย่างไรกับแนวโลกของโลกที่เปลี่ยนไป?” พี่ๆได้ใคร่ครวญจากคำถามเหล่านี้และจัดกระทำลงในสมุดการจัดการชุดความรู้เพื่อที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกันสัปดาห์ถัดไป

    ตอบลบ